1.อาหารแห้ง หรืออาหารเม็ด จัดเป็นอาหารสำเร็จรูปที่ประกอบด้วยคุณค่าทางอาหารที่สมบูรณ์ มีความชื้น 6 - 10% ซึ่งวัตถุดิบที่นำมาผลิตเป็นอาหารแห้งนั้น จะมีทั้งเมล็ดธัญพืช เนื้อวัว เนื้อไก่ ผลิตภัณฑ์จากปลา,นม ตลอดจนวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ นำมาผสมรวมกันในสัดส่วนที่เหมาะสมจะได้คุณค่าทางอาหารและพลังงานที่เหมาะกับสุนัขตามขนาดและความต้องการอาหาร ณ ช่วงนั้นๆ โดยจะผ่านขบวนการความสูญเสียของคุณค่าทางอาหารจะเกิดขึ้นเป็นบางส่วน วัตถุดิบอาหารที่ดีนั้นเมื่อนำมาผลิตเป็นอาหารเม็ดแล้วความสูญเสียส่วนนี้จะเกิดขึ้นน้อย | ||||||||||||||||||||||||||||||||
ข้อดี
|
1. มีคุณค่าทางอาหารสูง
2. ราคาถูกกว่าเมื่อเทียบกับอาหารสำเร็จรูปชนิดกระป๋อง 3. ความสูญเสียเนื่องมาจากการเน่าเสียของอาหารมีน้อย 4. มูลสัตว์ที่ออกสามารถเก็บทำความสะอาดง่าย | |||||||||||||||||||||||||||||||
ข้อเสีย
|
ความน่ากินและรสชาติของอาหารเมื่อเปรียบเทียบกับอาหารสำเร็จรูปชนิดกระป๋องแล้วด้อยกว่า
| |||||||||||||||||||||||||||||||
2. อาหารสำเร็จรูปชนิดกระป๋อง
จัดเป็นอาหารสำเร็จรูปซึ่งประกอบไปด้วยเนื้อสัตว์ เมล็ดธัญพืช ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ต่างๆ รวมทั้งวิตามินและเกลือแร่ มีความชื้นสูงประมาณ 75% ซึ่งอาหารกระป๋องที่ดีควรจะมีวัตถุอาหารที่ครบถ้วนสมดุลและผ่านขบวนการผลิตทำให้สุกโดยความร้อนหรือไอน้ำซึ่งเป็นการฆ่าเชื้อโรคที่ปนเปื้อนมาได้ ดังนั้นการให้สุนัขกินอาหารสำเร็จรูปชนิดกระป๋องเพียงอย่างเดียวสามารถทำได้ แต่ค่อนข้างสิ้นเปลืองเมื่อเทียบกับพลังงานและคุณค่าอาหารที่สัตว์จะได้รับแล้ว สุนัขต้องกินอาหารสำเร็จรูปชนิดกระป๋องในปริมาณมาก ดังนั้นมีทางเลือกอีกอย่างหนึ่งคือ คลุกอาหารกระป๋องกับอาหารเม็ดเข้าด้วยกัน จะเพิ่มความน่ากินของอาหารเม็ดและลดการใช้อาหารสำเร็จรูปชนิดกระป๋องโดยทีสัตว์สามารถได้คุณค่าทางอาหารที่ดี | ||||||||||||||||||||||||||||||||
ข้อดี
|
สะดวก และมีความน่ากินสูง
| |||||||||||||||||||||||||||||||
ข้อเสีย
|
ราคาแพง และถ้ากินไม่หมดในแต่ละมื้ออาจเกิดการบูดเน่าได้
| |||||||||||||||||||||||||||||||
3. อาหารที่ปรุงแต่งขึ้นเอง
การปรุงอาหารสดให้สุนัขกินเองนั้นคำนวณสูตรและปริมาณการให้ค่อนข้างยาก เพื่อจะให้ครบถ้วนตามความต้องการของสุนัข ซึ่งปกติสุนัขเป็นสัตว์ที่กินได้ทั้งพืชและสัตว์ เราจะสามารถผสมสูตรอาหารให้กินได้มากมาย สุนัขจะมีความชอบในการกินอาหารประเภทนี้มาก ซึ่งปัจจัยหลักคือการให้สารอาหารครบทั้ง 5 หมู่คือ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน วิตามินและเกลือแร่ ซึ่งในทางปฏิบัติทำได้ยาก โดยทั่วไปเจ้าของที่เลี้ยงสุนัขด้วยอาหารชนิดนี้ควรจะมีการเสริมวิตามินสำเร็จรูปในแต่ละมื้อ เพื่อเพิ่มปริมาณสารอาหารที่สำคัญซึ่งจะช่วยในการเจริญเติบโตที่สมบูรณ์ให้กับสุนัข | ||||||||||||||||||||||||||||||||
ข้อดี
|
1. สะดวก (ในบางกรณี)
2. ความน่ากิน | |||||||||||||||||||||||||||||||
ข้อเสีย
|
1. สุนัขอาจได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน
2. การเน่าเสียของอาหาร จะส่งผลต่อสุขภาพของสุนัขได้ 3. ทำให้สุนัขมีนิสัยเลือกกินอาหาร | |||||||||||||||||||||||||||||||
4. ของว่างและขนมขบเคี้ยว
ขนมขบเคี้ยวของสุนัขนั้นปัจจุบันได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะสุนัขพันธุ์พุดเดิ้ล,มอลตีส,ชิสุ เป็นต้น ซึ่งเป็นการแสดงออกของความรักความผูกพันในอีกรูปแบบหนึ่งโดยมักไม่คำนึงถึงคุณค่าทางอาหารมากนัก สารอาหารในขนมขบเคี้ยวนั้นแต่ละบริษัทต่างปรุงแต่งกลิ่นและรสชาติให้ถูกปากสุนัขมากที่สุด โดยอยู่ในรูปแบบของกระดูกปลอม บิสกิตสุนัข หรือเป็นชิ้นเนื้อ เบคอนต่างๆ ซึ่งใช้แต่งกลิ่นเป็นที่ชื่นชอบของสุนัขทั้งสิ้น ข้อดี ช่วยในการขัดฟัน ลดปัญหาหินปูนได้ หรือชะลอให้เกิดหินปูนช้าลง | ||||||||||||||||||||||||||||||||
ข้อดี
|
ช่วยในการขัดฟัน ลดปัญหาหินปูนได้ หรือชะลอให้เกิดหินปูนช้าลง
| |||||||||||||||||||||||||||||||
ลูกสุนัขแรกคลอดควรได้รับน้ำนมเหลืองจากแม่ (colostrum) โดยเร็วที่สุดหลังจากคลอดเพราะน้ำนมแม่เป็นอาหารที่มีคุณค่ามากที่สุด เนื่องจากมีภูมิคุ้มกันโรคต่างๆ มีแร่ธาตุที่จำเป็นในการสร้างกระดูกและฟัน มีโปรตีนสูง สำหรับลูกสุนัขที่อ่อนแอ ผอมบางผิวหนังเหี่ยวย่น ตัวเย็น เยื่อเมือกและผิวหนังหน้าท้องและขามีสีออกม่วง ในสัปดาห์แรกควรให้กลูโคสและน้ำตับดิบช่วยวันละ 2 - 3 ซีซี และอาจจะให้วิตามินเสริม แม่สุนัขจะมีปริมาณน้ำนมมากที่สุดในสัปดาห์ที่ 2 - 3 หลังคลอดแล้วปริมาณน้ำนมจะค่อยๆ ลดลงตามลำดับ และจะลดลงอย่างมากในสัปดาห์ที่ 5 - 6 ซึ่งโดยปกติจะเป็นช่วงที่ลูกสุนัขหย่านม (weaning) อาหารแรกเริ่มที่เจ้าของจะให้ลูกสุนัขสามารถให้ตอนช่วงอายุ 5 - 6 สัปดาห์นี้ โดยอาจจะเริ่มให้เพียงเล็กน้อยก่อนในขณะที่ลูกสุนัขยังไม่หย่านม แล้วค่อยๆ เพิ่มประมาณอาหารตามลำดับ อาหารเริ่มแรกควรเป็นอาหารอ่อน บดละเอียด อุดมด้วยแคลเซียม ฟอสฟอรัสและวิตามินดี และเป็นอาหารที่มีคุณค่าของโปรตีนสูง เจ้าของสุนัขอาจจะเติมวิตามิน หรือน้ำมันตับปลาควบไปด้วย คุณภาพอาหารที่ให้มีความเช่นเดียวกันกับการเพิ่มปริมาณอาหารโดยเฉพาะระยะแรกที่เริ่มหย่านม ปริมาณครั้งของการให้อาหารสามารถแสดงได้ดังนี้ :- | ||||||||||||||||||||||||||||||||
อายุหลังหย่านม - 5 เดือน
|
ให้อาหารวันละ 4 ครั้งในปริมาณพอเหมาะ
- อาหารโปรตีนสูง - อัตราส่วน Ca : P = 1.2 : 1.0 - เสริมวิตามิน | |||||||||||||||||||||||||||||||
อายุ 5 - 6 เดือน
|
ให้อาหารวันละ 2 ครั้ง
- อาหารโปรตีนสูง - อัตราส่วน Ca : P = 1.2 : 1.0 - เสริมวิตามิน A,D,B | |||||||||||||||||||||||||||||||
สำหรับในลูกสุนัขที่ไม่ได้รับน้ำนมจากแม่ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด และควรให้สัตวแพทย์สอดท่อให้อาหารและให้อาหารสำหรับลูกสุนัขที่เหมาะสมไม่ควรให้ลูกสุนัขกินน้ำนมโคเพราะจะทำให้ท้องเสียและขาดน้ำได้ ดังนั้นการเลี้ยงดูลูกสุนัขกำพร้าหรือไม่ได้รับน้ำนมจากแม่ควรใช้สูตรอาหารดังต่อไปนี้ :-
| ||||||||||||||||||||||||||||||||
สูตรที่ 1
| ใช้นมผงสำเร็จรูปสำหรับลูกสุนัข | |||||||||||||||||||||||||||||||
สูตรที่ 2
| ผสมนม Evaporated Milk (ไม่ใช่ Skim Milk) 3 ส่วนกับน้ำ 1 ส่วน ป้อนให้ลูกสุนัขกิน หากมีอาการท้องเสียเกิดขึ้น ควรเจือจางน้ำนมลงไปอีก | |||||||||||||||||||||||||||||||
สูตรที่ 3
| ผสมอาหารกระป๋องลูกสุนัขสำเร็จรูป 2 ส่วนกับน้ำ 1 ส่วน แล้วปั่นให้เข้ากันก่อนนำไปเลี้ยงลูกสุนัข | |||||||||||||||||||||||||||||||
สูตรที่ 4
| ส่วนผสม นมสด (Whole Milk) 1 ถ้วย น้ำมันพืช 1 ช้อนชา วิตามินรวมสำหรับเด็ก 1 หยด ไข่แดง 2 ฟอง นำมาปั่นรวมกัน 1 นาที แล้วนำไปเลี้ยงลูกสุนัข | |||||||||||||||||||||||||||||||
นอกจากนี้ยังต้องดูแลเรื่องของอุณหภูมิด้วย เนื่องจากลูกสุนัขปกติจะมีอุณหภูมิแรกคลอดประมาณ 96.8๐F และจะมีอุณหภูมิเท่ากับสุนัขโตเมื่อลูกสุนัขมีอายุประมาณ 4 สัปดาห์ (101-102๐F) ถ้าลูกสุนัขมีอุณหภูมิร่างกายต่ำควรให้ความอบอุ่นอย่างสม่ำเสมอทุก 1 - 3 ชั่วโมงจนอุณหภูมิคงที่
| ||||||||||||||||||||||||||||||||
ปริมาณอาหารสำเร็จรูปต่อวันสำหรับสุนัขที่โตเต็มวัย
| ||||||||||||||||||||||||||||||||
ข้อแนะนำสำหรับการให้อาหาร
1. อาหารสำเร็จรูปควรเลือกใช้ของบริษัทที่น่าเชื่อถือ 2. ห้ามให้อาหารที่เสียแก่สุนัข 3. จัดน้ำสะอาดไว้ให้ตลอดเวลา 4. ห้ามให้อาหารเลี้ยงแมวกับสุนัขเพราะมีโปรตีนสูงเกินไป 5. อาหารที่ให้ควรมีอุณหภูมิเท่ากับอุณหภูมิห้อง 6. อาหารที่มีน้ำเป็นส่วนผสมที่กินเหลือไม่ควรเก็บไว้ในมื้อต่อไป 7. อาหารแห้งควรทิ้งวันต่อวัน 8. ไม่ควรปล่อยให้สุนัขอ้วนเกินไป 9. ห้ามให้กระดูกที่เปราะแก่สุนัขเช่น กระดูกไก่ 10. สุนัขที่ไม่ยอมกินอาหารนานกว่า 24 ชั่วโมง อาจเป็นสัญญาณบอกว่าสุนัขเจ็บป่วยจึงควรปรึกษาสัตวแพทย์ |
วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558
ชนิดของอาหาร
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น